Thai Catholic Hub

Thai Catholic Hub

Connecting in Christ

เล่าพระคัมภีร์ : 3 เทศกาลสำคัญของชายอิสราเอล

เล่าพระคัมภีร์ : 3 เทศกาลสำคัญของชายอิสราเอล

/
/
เล่าพระคัมภีร์ : 3 เทศกาลสำคัญของชายอิสราเอล

อิสราเอลเป็นชนชาติของพระเจ้าที่ให้ความสำคัญกับฤดูกาลและฤดูการเพาะปลูกอย่างแนบแน่น แต่ละช่วงเวลาของฤดูกาลจะมีเทศกาลสำคัญเพื่อเป็นการรำลึกและใคร่ครวญถึงการเลี้ยงดูของพระเจ้า รวมถึงการช่วยกอบกู็พวกเขาด้วยเหตุการณ์ที่น่าตื่นใจทางประวัติศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ และ วิชาโบราณคดีว่า เหตุการณ์พวกนั้นเกิดขึ้นจริง ๆ

ในแต่ละปีจะมีเพียง 3 เทศกาลสำคัญเท่านั้นที่ “ชายชาวอิสราเอล” ทุกคนจะต้องเข้าร่วมงานฉลองประจำชาติอิสราเอล ได้แก่

  • เทศกาลปัสกาและเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ
  • เทศกาลสัปดาห์ (หรือ ฉลองการเก็บเกี่ยว)
  • เทศกาลอยู่เพิง

เทศกาลปัสกาและเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ

ปฏิทินอิสราเอล เริ่มนับเดือนที่หนึ่ง คือ รอยต่อระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน และ กำหนดให้เป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวยิว

“เทศกาลปัสกา คือ การเฉลิมฉลองเหตุการณ์ที่ อิสราเอลได้อพยพออกจากอียิปต์โดยการนำของโมเสส ด้วยเรื่องราวปาฏิหารย์มากมายของพระเจ้า

อพยพ บทที่ 12 ข้อที่ 1-20 และ บทที่ 23 ข้อที่ 15

ก่อนวันปัสกาหนึ่งวัน ทุกครอบครัวจะฆ่าและถวายลูกแกะหนึ่งตัวเป็นเครื่องบูชา และ พวกเขาจะรวมตัวกันที่พระวิหารในเยรูซาเล็ม เมื่อถวายลูกแกะที่พระวิหารเสร็จแล้ว ก็จะแยกย้ายกันไปกินอาหารแบบปัสกา นับตั้งแต่วันนั้นไปอีก 50 วัน

อาหารแบบปัสกา คือ การกินแต่ขนมปังไร้เชื้อ (ไม่ใส่ยีสต์) สาเหตุที่เป็นขนมปังไร้เชื้อ ก็มาจากการระลึกถึงเหตุการณ์การอพยพครั้งใหญ่ออกจากอียิปต์ ซึ่งผู้หญิงที่เป็นผู้ทำอาหาร ไม่มีเวลาในการรอให้ก้อนแป้งขนมปังฟูนั่นเอง

ในระหว่างมื้อปัสกานั้น ในแต่ละครอบครัวจะเล่าถึงเหตุการณ์ที่ชาวอิสราเอลต้องเป็นทาสในอียิปต์ จนถึง การอพยพออกโดยโมเสส มีการเล่าซ้ำ ๆ ถึงเหตุการณ์ที่ว่า ทูตของพระเจ้าได้ผ่านเว้น (ไม่เอาชีวิตบุตรหัวปี) ของบ้านคนอิสราเอลอย่างไร

พวกเขาจะกินปัสกาอย่างมีความสุข ด้วยความรัก และ การขอบพระคุณในการไถ่กู้พวกเขาออกจากอียิปต์

การฉลองปัสกาในแบบนี้ยังคงมีอยู่มาเสมอ นับตั้งแต่พันธสัญญาเดิม จนถึง ปัจจุบัน

แต่จะมีเฉพาะชาวสะมาเรียที่ยังคงมีการถวายลูกแกะเป็นเครื่องบูชาในเทศกาลปัสกาจนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่ชาวยิวไม่ได้ถวายลูกแกะเป็นเครื่องบูชาอีกเลย นับตั้งแต่โรมันทำลายพระวิหารใน คศ. 70

เทศกาลสัปดาห์ (ฉลองการเก็บเกี่ยว)

ในวันที่ 50 นับจากวันแรกของปัสกา คือ เทศกาลสัปดาห์ ซึ่งต่อมาเรียกว่า เทศกาลเพนทาคอส ประชาชนจะนำเครื่องถวายมาบูชาแด่พระเจ้า เป็นการตระหนักว่า แผ่นดินและผลผลิตทั้งหมดนั้นเป็นของขวัญจากพระเจ้า และ จึงเป็นช่วงเวลาการขอบพระคุณครั้งใหญ่

เทศกาลอยู่เพิง

ถัดมาอีก 7 เดือนตามปฏิทินของชาวยิว คือ รอยต่อระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม จะกำหนดให้วันที่ 1 ของเดือนที่ 7 นี้เป็น เทศกาลปีใหม่ของชาวยิว และ เป็นเดือนที่สำคัญที่สุดของชาวยิว

จะมีการเป่าแตรตามท้องถนน มีการถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า และ จะไม่มีการทำงานใด ๆ ในวันนั้น นี่เป็นกิจกรรมที่จะทำในวันแรกของเทศกาลปีใหม่ของชาวยิว

ถัดมาในวันที่ 10 ของเดือนที่ 7 คือ วันลบมลทิน เป็นช่วงเวลาที่คนทั้งชาติจะสารภาพบาปและขอห้พระเจ้าทรงให้อภัยและชำระมลทินทั้งปวง

ชาวอิสราเอลจะอดอาหารตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินของวันที่ 9 จนถึง พระอาทิตย์ตกดินของวันที่ 10

มหาปุโรหิตชาวยิวจะสวมเสื้อคลุมพิเศษ และจะมีการฆ่าสัตว์เป็นเครื่องบูชาอยู่ 2 ชนิด คือ โคและแพะ

โดยโคจะถูกฆ่าและถวายด้านนอกพระวิหาร แล้วนำเลือดของโคนั้นมาประพรมที่พีบพันธสัญญา แล้วมหาปุโรหิตจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องชั้นในสุดของพลับพลา (ซึ่งปัจจุบัน คือ พระวิหาร) เพื่อฆ่าแพะถวายเป็นเครื่องบูชา

แล้วจะออกมาปล่อยแพะอีกตัวหนึ่งให้วิ่งไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อเป็นความหมายว่า บาปของพวกเขาได้ถูกนำออกไปแล้ว

ถัดมาอีก 5 วันจึงจะเป็นเทศกาลอยู่เพิ่ง คือ ในวันที่ 15 ของเดือนที่ 7 จะมีการสร้างเพิงพักด้วยกิ่งไม้ เพื่อรำลึกถึงช่วงเวลาที่ชาวอิสราเอลต้องอาศัยกันอยู่ในเต๊นท์กลางถิ่นทุรกันดาร ในช่วงอพยพออกจากอียิปต์

จะมีการฉลองเลี้ยงยาวนานไปถึง 7 วัน เพื่อฉลองรำลึก วาระการสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวผลไม้ คือ เมื่อเก็บรวบรวมผลองุ่นและผลมะกอกเสร็จแล้ว พวกเขาก็จะได้นำผลผลิตต่าง ๆ มาเก็บกินนั่นเอง

พระศาสนจักรคาทอลิกจึงมีวาระการฉลองมากมาย เพื่อรำลึกตามปฏิทินของชาวยิว และ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่พระเจ้าทรงกระทำกับชนชาติของพระองค์ จนนำมาซึ่งการประสูติและสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ เพื่อให้ความรอดนั้นได้ออกไปถึงชนต่างชาติได้ในที่สุด

ลิ้งค์อื่นๆ ที่น่าสนใจ